พ.ศ.๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖) เหรียญการศพเจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)

พ.ศ.๒๔๕๐ เหรียญการศพเจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)

พ.ศ.๒๔๕๐ ( รศ. ๑๒๖ ) เหรียญการศพเจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)

เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์๓ (เทศ) เป็นบุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) เช่นเดียวกับพระยาภาณุวงศ์ฯ แต่ต่างมารดากัน มารดาของท่านคือหม่อมหรุ่น เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ (เทศ) เกิดปีฉลู เมื่อพ.ศ. ๒๓๘๔ และได้รับคัดเลือกให้เป็นนักเรียนไปกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ กับคณะราชทูต ซึ่งพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม) พี่ชายของท่านเป็นหัวหน้าคณะ ในขณะที่ท่านมีอายุได้ ๑๗ ปี แต่เกิดขัดข้องบางประการต้องเดินทางกลับ ท่านเริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยตำแหน่งแรกคือ นายรองไชยขรรค์ และไต่เต้าขึ้นมาเป็น นายศัลย์วิไชยหุ้มแพรมหาดเล็ก และพระเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ซึ่งได้กินตำแหน่งปลัดเมืองเพชรบุรีเช่นเดียวกับเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ (ท้วม) ผู้พี่ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ท่านได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาสุรินทรฤๅไชย มีฐานะเป็นเจ้าเมืองเพชรบุรี (พ.ศ. ๒๔๑๑) ในวันที่ ๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๑ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราจุลจอมเกล้าฯ ให้แก่ท่าน ต่อมาเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้จัดตั้งการปกครองแบบใหม่เป็นมณฑลเทศาภิบาล ในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ท่านได้เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี๔ มีหน้าที่ดูแลหัวเมืองใหญ่ ๖ เมืองด้วยกัน ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ปราณบุรี สมุทรสงคราม ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี โดยศูนย์กลางการปกครองจะอยู่ที่จังหวัดราชบุรี ในสมัยที่ท่านเป็นเทศานั้น งานโกนจุกลูกสาว ๒ คน ของท่านคือ เจ้าจอมเอิบและเจ้าจอมอาบ มีการฉลองด้วยปี่พาทย์ถึง ๓ วงด้วยกันในฐานะที่เป็นงานของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ และในงานนี้เองที่นายศร ศิลปบรรเลง ซึ่งต่อมาคือหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้มีโอกาสมาเล่นระนาดประชันจนฝีมือขึ้นชื่อลือเลื่อง เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ ถือคติในการทำงานว่า “ให้มีความสุจริต ทั้งกาย วาจา ใจ จึงจะงามเจริญดี”
หลังจากที่เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ ได้รับตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรีท่านได้เข้ามากรุงเทพฯ เพื่อร่วมประชุมข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจัดขึ้นที่ศาลาลูกขุนบ้าง และที่กระทรวงการคลังมหาสมบัติบ้าง โดยในการประชุมแต่ละครั้งจะมีรายงานการประชุมอย่างระเอียด ระบุแม้กระทั่งเวลาผู้ที่เข้าร่วมการประชุมแต่ละคนมาถึง นอกเหนือไปจากเนื้อหาขอการประชุม

อีก ๓ ปีต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ท่านก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ เมื่ออายุได้ ๕๖ ปี บุตรชายของท่านเกิดกับท่านผู้หญิงอู่ ได้รับราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองเพชรบุรีถึง ๓ คน ได้แก่

  1. พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค)
  2. พระยาสุรินทรฤๅไชย (เทียม บุนนาค)
  3. พระสัจจาภิรมย์ (แถบ บุนนาค)

แต่ที่สำคัญที่สุด ธิดาท่านถึง ๕ คน ได้เข้ารับราชการฝ่ายใน ได้เป็นพระสนมเอกในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ได้แก่ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอื้อน หรือที่รู้จักกันดีในนามเจ้าจอมก๊กออนั่นเอง ธิดาอีก ๓ คน ของท่านที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ก็ได้เป็นคุณหญิง นอกจากนั้นธิดาของท่านอีก ๒ คน ซึ่งเกิดกับหม่อมพวงและหม่อมทรัพย์คือ เจ้าจอมแก้วและเจ้าจอมแส ก็ได้รับราชการฝ่ายในในตำแหน่งพระสนมในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเช่นกัน เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ มีบุตรธิดารวม ๖๒ คนด้วยกัน
อนุสรณ์ของตระกูลบุนนาคที่ปกครองเมืองเพชรก็คือ ถนนสายหลักๆ ในเมืองเพชรซึ่งตัดขึ้นในสมัยที่ตระกูลบุนนาคตั้งแต่พระยาสุรพันธ์ฯ เข้ามาปกครอง สังเกตได้จากชื่อของถนนจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับตระกูลหรือตำแหน่งของท่านทั้งสิ้น ได้แก่ ถนนสุรพันธ์ (ปัจจุบันซอยที่แยกจากถนนใหญ่สุรพันธ์จะตั้งชื่อว่า ซอยสุรพันธ์ ๑ สุรพันธ์ ๒ ตามชื่อถนนใหญ่) ถนนอมาตยวงศ์ (กร่อนมาเป็นมาตยาวงศ์ในปัจจุบัน) ถนนพงษ์สุริยา สุริยา แปลว่า พระอาทิตย์ ซึ่งเครื่องหมายตราพระอาทิตย์เป็นเครื่องหมายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยา (องค์แรกของตระกูลบุนนาค) ให้สำเร็จราชการตลอดทั่วทั้งพระราชอาณาจักร โดยมีตราสุริยมณฑลเทพบุตรชักรถเป็นเครื่องหมาย
เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ กลับมาใช้ชีวิตในวัยชราที่เพชรบุรี ใน ร.ศ. ๑๒๑ ท่านก็เริ่มป่วย และล้มป่วยหนักใน ร.ศ. ๑๒๕ ทุกครั้งที่ท่านมีอาการป่วย สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีรับสั่งให้หมอหลวงไปรักษา และทรงติดตามอาการป่วยอย่างใกล้ชิด โปรดเกล้าฯให้ทั้งหมอไทยและหมอฝรั่งที่เก่งที่สุดออกไปรักษาท่านที่เพชรบุรี ตามหลักฐานในจดหมายเหตุ รายชื่อหมอที่ทรงรับสั่งให้ไปรักษาเจ้าพระยาสุรพันธ์ ได้แก่ พระสิทธิสาร หลวงประสิทธิ์หัตถา หลวงวรรณกรรม หลวงเทวพรหมา หมอเกอร์ หมอแมกเดนเมียส์ หมอแบรดดอก หมอมักแคนเนอร์ และหมอปัวซ์ นอกจากจะทรงติดตามอาการป่วยของเจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ อย่างใกล้ชิดผ่านทางสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในฐานะเสนาบดีมหาดไทยแล้ว จากจดหมายเหตุจะเห็นได้ว่า มีอยู่หลายครั้งที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชกระแสในเรื่องการตรวจรักษาของหมอด้วย สิ่งสำคัญที่สุดที่แสดงถึงความห่วงใยของพระพุทธเจ้าหลวงที่ทรงมีต่ออาการป่วยของเจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ ก็คือ การที่ทางเจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ จะต้องมีจดหมายกราบบังคมทูลรายงานอาการป่วยอย่างละเอียดโดยตลอด ดังจะเห็นจากโทรเลขและจดหมายรายงานการป่วยจากเพชรบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทรงเล็งเห็นว่าอาการของท่านเจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ หนักมากแล้ว ก็ทรงมีพระราชปรารภให้ลูกหลานของท่านที่อยู่กรุงเทพฯ ได้ออกไปเพชรบุรีเพื่อเยี่ยมไข้ครั้งสุดท้าย๘ เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ ถึงแก่อสัญกรรมที่บ้านของท่านจวนกลาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ อายุ ได้ ๖๖ ปี งานพระราชทานเพลิงศพของท่านมีขึ้นที่วัดเทพศิรินทราวาส และแจกหนังสือนันโทปนันทสูตรคำหลวง เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมพระราชวังบวรในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเป็นผู้นิ

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด