พ.ศ.๒๔๒๓ เหรียญที่ระลึก เปิดเหมือง

พ.ศ.๒๔๒๓ เหรียญที่ระลึก เปิดเหมือง

พ.ศ.๒๔๒๓* (ร.ศ. ๙๙) เหรียญที่ระลึก เปิดเหมือง

เหรียญที่ระลึกเปิดเหมือง จัดเป็นหนึ่งในเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่๕ ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในบรรดานักสะสม เนื่องจากเป็นเหรียญที่มีรูปลักษณ์สวยงาม และแปลกตา กล่าวคือ ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คล้ายกับเหรียญกษาปณ์ “บาทหนึ่ง” ที่ประกาศใช้ในปีพ.ศ. ๒๔๑๙ (ร.ศ.๙๕) ส่วนด้านหลัง เป็นข้อความภาษาฝรั่งเศส ว่า “MINES DE KHAOTREE, GetT” นอกจากนี้ ตัวเหรียญยังมีลักษณะที่ผ่านการผลิตขึ้นรูปอย่างปราณีตสวยงาม คาดว่าน่าจะเป็นเหรียญที่ผลิตจากต่างประเทศ เพื่อเป็นที่ระลึกในการเปิดเหมืองแร่แห่งหนึ่งในประเทศสยาม ในยุคนั้น

อย่างไรก็ดี เหรียญเปิดเหมืองนี้ เป็นเหรียญที่สืบค้นประวัติความเป็นมาได้ยากยิ่ง การอ้างอิงปี พ.ศ.๒๔๒๓ เป็นเพียงการอ้างอิงข้อมูลตามบริษัทประมูลระดับโลก Heritage Coin เท่านั้น แต่ยังไม่สามารถค้นคว้าข้อมูลลงลึกในระดับปฐมภูมิ เช่นพระราชกิจจานุเบกษามายืนยันได้ และยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเหมืองแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ใดกันแน่ หากแต่ภาษาฝรั่งเศสที่ปรากฎอยู่ด้านหลังเหรียญน่าจะพอทำให้เชื่อได้ว่าเป็นกิจการเหมืองแร่ที่ลงทุนโดยนักลงทุนชาวฝรั่งเศส นอกจากนี้ จากการค้นคว้าจากประทานบัตรเหมืองแร่ ในสมัยรัชกาลที่๕ พบว่าการลงทุนทำเหมืองแร่ในยุคนั้นส่วนมากเป็นเหมืองแร่ดีบุกทางภาคใต้ รวมถึงแร่วุลแฟรม และมีประทานบัตรเหมืองทองคำเพียงบางส่วนเช่น ในเขตหล่มสัก เมืองเพชรบูรณ์ และบางส่วนทางภาคตะวันออก

ด้านหน้าเหรียญ

ด้านหลังเหรียญ

คำบรรยายภาพ : เหรียญเปิดเหมืองเนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง
คำบรรยายภาพ: เหรียญเปิดเหมืองเนื้อบรอนซ์กะไหล่ทอง

ข้อมูลจำเพาะ

ด้านหน้า : พระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศพลเรือน มีอักษรรอบขอบเหรียญว่า สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่า ด้านหน้าเหรียญนี้ ทำลักษณะเดียวกับเหรียญเงิน บาทหนึ่ง ที่ประกาศใช้ในปีร.ศ.๙๕ แต่พระบรมรูปมีความคมลึก สวยงามกว่ามาก หากแต่ ตัวอักษรรอบขอบเหรียญกลับมีการแกะตัวอักษรที่ไม่สมบูรณ์ คาดว่าน่าจะเป็นเพราะช่างผู้แกะพิมพ์เป็นชาวต่างประเทศ และไม่รู้ภาษาไทย และขาดขั้นตอนการพิสูจน์ตัวอักษร อาจเพียงใช้เหรียญเงิน บาทหนึ่ง เป็นตัวอย่างในการออกแบบ
ด้านหลัง : มีอักษรรอบขอบเหรียญว่า MINES DE KHAOTREE, GetT
ขอบเหรียญ: มีเฟืองโดยรอบ
ขนาด : เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๒ มิลลิเมตร
ชนิด : เนื้อบรอนซ์ , เนื้อบรอนซ์กะไหล่ทอง, เนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง ด้านหลังมีทั้งชนิดดาวดวงใหญ่ และดาวดวงเล็ก

หมายเหตุ : เนื้อบรอนซ์ หมายถึงโลหะผสมทองแดงกับดีบุก ซึ่งส่วนประกอบหลักจะเป็นโลหะทองแดง โดยมีดีบุก และโลหะชนิดอื่นเป็นส่วนประกอบรอง สามารถแยกย่อยได้หลายประเภทขึ้นกับสัดส่วนผสมของดีบุกและโลหะผสมอื่นๆในเนื้อทองแดง เช่นเนื้อบรอนซ์บางชนิดที่นำมาผลิตเป็นภาชนะในสมัยโบราณเป็นที่รู้จักและเรียกกันในเมืองไทยว่า สำริด เนื้อทองเหลือง หมายถึงโลหะผสมทองแดงประเภทหนึ่ง ที่มีส่วนประกอบหลัก รองจากทองแดงเป็นสังกะสี

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด