พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญศารทูลมาลา

พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญศารทูลมาลา

พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญศารทูลมาลา

The Saratul Mala Medal

ใช้อักษรย่อ ร.ศ.ท.

เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการ มีชนิดเดียว เป็นเหรียญเงิน

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
พ.ศ. ๒๔๖๘ ในการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรรจบรอบปีที่ ๑๕ ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ ซึ่งกองเสือป่าอาสาสมัครได้ดำเนินตามกระแสพระบรมราโชบายมั่นคงเป็นปึกแผ่นแผ่ไปทั่วพระราชอาณาจักร จนประสบผลแล้วซึ่งความยั่งยืน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชดำริเห็นสมควรที่จะสถาปนาเหรียญศารทูลมาลาสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ที่ปฏิบัติราชการเสือป่า ด้วยความอุตสาหะ ที่รับราชการมาครบกำหนด ๑๕ ปีบริบูรณ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติเหรียญศารทูลมาลา พระพุทธศักราช ๒๔๖๘” ขึ้น ประกาศไว้ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘ โดยให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๘

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอำนวยการการฝึกและทอดพระเนตรการประลองยุทธของกองเสือป่าที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปณาขึ้น โดยประกาศเป็นพระราชปรารภ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ ว่าทรงมุ่งหมายที่จะเปิดโอกาสให้พลเรือน ทั้งที่เป็นข้าราชการและพ่อค้าคหบดี

ที่มีความปรารถนาจะได้รับการฝึกหัดอย่างทหาร ได้ฝึกหัดตามความประสงค์อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง คือ ทำให้บุคคลที่ได้รับการฝึกเช่นนั้นเป็นราษฎรที่ดี มีกำลังกายและความคิดแก่กล้าในทางที่เป็นประโยชน์ มีความรักชาติบ้านเมือง มีความสามัคคี และให้เป็นนักรบได้เมื่อถึงคราวที่ประเทศชาติต้องการ
เหรียญศารทูลมาลาเป็นเหรียญเงิน มีสัณฐานเป็นรูปจักรหมายยศเสือป่า

ด้านหน้า เป็นรูปหน้าเสือทรงมงกุฎอยู่กลางในวงจักร

ด้านหลัง ตรงกลางมีอักษรพระนามาภิไธย ร.ร.๖ มีอักษรจารึกวงรอบข้างบนว่า
“บำเหน็จแห่งความยั่งยืน” และจารึกอักษรที่วงรอบข้างล่างว่า “ในราชการเสือป่า ๑๕ ปี” ที่ร้อยแพรแถบ สีดำ เหลือง สลับกันเป็นลายรุ้ง เป็นรูปวชิระสองคมมีเข็มกลัดเงิน เบื้องบนแพรแถบจารึกอักษรว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์” ใช้สำหรับประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด