พ.ศ.๒๔๑๔ (จ.ศ.๑๒๓๓) เหรียญหลักแจว ต้นแบบ เนื้อดีบุก คันพบเพียงสองเหรียญเท่านั้น!

พ.ศ.๒๔๑๔ เหรียญหลักแจว ต้นแบบ เนื้อดีบุก

เป็นคติความเชื่อของมนุษย์ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า การจำลองรูปภาพของตนลงบนสิ่งใดก็ตาม จะเป็นการบั่นทอนชีวิตของผู้นั้น คตินี้ยังคงเชื่อกันอยู่ในสังคมของผู้เฒ่าผู้แก่ของเราในรอบร้อยปีที่แล้วว่า การฉายรูปจะมีผลทำให้ทำอายุสั้น

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชเจ้า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถในพระราชกิจทั้งปวง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อัจฉริยะโดยแท้ รัชสมัยอันยาวนานของพระองค์ (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓) เรียกได้ว่า “เป็นยุคของการปฏิรูป ( Age of Reform ) หรือยุคของการทำประเทศให้ทันสมัย ( Age of Modernization ) อย่างแท้จริง”

พระองค์ทรงสลัดคติความเชื่อถือเก่าแก่นี้อย่างสิ้นเชิง หลังจากได้ทรงริเริ่มโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกพระปรมาภิไธยย่อ “ส.พ.ป.ม.จ. ๕” เพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์แห่งการเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ อันเป็นปีที่ ๒ ของการเสวยราชย์ซึ่งถือว่าเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกแล้วนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔

คราวงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๑๘ พรรษาอันเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง หมอบรัดเล ได้บันทึกไว้เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๔ ความว่า “เฉลิมพระชันษา ๑๘ ตามประทีป และมีมหรสพเป็นการใหญ่” ในคราวนี้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นอีกเป็นเหรียญที่ ๒ ครั้งนี้ได้ปรากฏพระบรมรูปของพระองค์ท่านเป็นครั้งแรกในประวัติของการสร้างเหรียญที่สมบูรณ์แบบในปีนั้น อันจะเป็นผลให้ประเทศไทยได้มีเหรียญกษาปณ์ตีพิมพ์พระบรมรูปบนด้านหน้าของเหรียญขึ้นเป็นครั้งแรกในอีก ๕ ปีถัดมา คือเหรียญตราพระบรมรูปในปี พ.ศ ๒๔๑๙

เหรียญที่นำมาลงให้ดูนี้เป็นเหรียญต้นแบบเนื้อดีบุก มีความแตกต่างจากเหรียญทั่วไปตรงที่ด้านหลังของเหรียญไม่มีคำว่า “การเฉลิมพระชนม์พรรษาปีมแมตรีศก๓ จุลศักราช๑๒๓๓ เปนปีที่๓ ในรัชกาลปัตจุบันนี้” สันนิษฐานว่าเป็นการสั่งทำขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯเสนอให้ทรงพิจารณา และเมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆแล้ว จึงผลิตขึ้นเพื่อพระราชทานในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

ด้านหน้า : มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ ผินพระพักต์ทางด้านซ้ายของเหรียญ เส้นพระเจ้า “ทรงมหาดไทย” หรือ “ทรงหลักแจว” ทรงฉลองพระองค์เสื้อยันต์ และทรงเคร่องราชอิสริยาภรณ์ รอบขอบเหรียญมีตัวอักษรว่า “สมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์บดินทร เทพยมหามงกุฎ พระเจ้ากรุงสยามที่๕”

ด้านหลัง : มีตัวอักษรรอบวงในเหรียญว่า “การเฉลิมพระชนม์พรรษาปีีมแมตรีีศก ๓ จุลศักราช ๑๒๓๓ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัตจุบันนี้”

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ

ชนิด : ดีบุก(เหรียญต้นแบบ)

ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 53 มิลลิเมตร

อนึ่งเหรียญชนิดนี้ที่เป็นเนื้อดีบุก และมีคำจารึกด้านหลังด้วย ก็ถูกพบเห็นบ้าง แต่รายละเอียดการขึ้นรูปมักจะไม่สู้ชัดเจนนัก
สันนิษฐานว่าเป็นเหรียญที่ใช้ทดลองปรับตั้งแม่พิมพ์ก่อนการผลิตจริง

พระบรมฉายาลักษณ์ที่ใช้เป็นแบบแกะเหรียญหลักแจว สันนิษฐานว่ารูปนี้น่าจะทรงฉายตอนที่พระชนมายุประมาณ ๑๗ ถึง ๑๘ พรรษา

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด