พ.ศ.๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖) เหรียญเสด็จฯกลับจากยุโรปครั้งที่ ๒

พ.ศ.๒๔๕๐ เหรียญเสด็จฯ กลับจากยุโรปครั้งที่ ๒

พ.ศ.๒๔๕๐ เหรียญเสด็จฯกลับจากยุโรปครั้งที่ ๒

เหรียญที่ระลึกนี้เรียกอย่างลำลองว่า “ เหรียญเสด็จกลับ ” แต่ในการเรียกอย่างเป็นทางการแล้วต้องเรียกว่า “ เสมาพระบรมรูป ” หมายความว่า รูปลักษณะของเหรียญเป็นทรงเสมา และมีพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๕ ประดับอยู่คงเพียงประสงค์จะเรียกให้แตกต่างจากเสมาอักษรพระนามย่อ จปร ซึ่งทรงสร้างสำหรับพระราชทานเด็กๆตามเมืองต่างๆในคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมือง ในภายหลังกรมธนารักษ์ได้จัดให้อยู่ในหมวดเหรียญที่ระลึกและให้ชื่อว่า “ เหรียญที่ระลึกเสด็จกลับจากยุโรป ครั้งที่ ๒ ”

ในการเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ครั้งที่ ๒ ร . ศ . (พ . ศ . ๒๔๕๐) นี้เป็นการเสด็จไปเพื่อรักษาพระองค์ตามการถวายคำแนะนำของแพทย์หลวง คือ หมอโบเมอร์ โดยทรงมีพระโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และ พระวักตะ (ไต) และเป็นการเสด็จพระราชดำเนินแบบไม่เป็นทางการมีข้าราชบริพารตามเสด็จเพียง ๑๕ ท่าน เท่านั้น โดยเสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันพุธที่ ๒๗ มีนาคม พ . ศ . ๒๔๔๙ และกลับถึงกรุงเทพฯเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ . ศ . ๒๔๕๐ รวมระยะเวลา ๗ เดือน ๒๑ วัน

โรงกษาปณ์ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตเหรียญนี้เช่นเดียวกับเหรียญประพาสมาลา เหรียญช้างสามเศียร และเหรียญรัชมังคลาภิเศก กระบวนการจัดสร้างนั้นคงต้องต้องเร่งรีบพอสมควรเพราะรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริที่จะให้จัดส่งมาประเทศสยามให้ทันก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับถึงพระนคร เพื่อที่พระองค์จะได้ทรงนำไปแจกแก่ราษฎรเมืองตราด และเมืองจันทบุรี

ฉะนั้นการแจกเหรียญเสด็จกลับนี้ได้แจกเป็นครั้งแรกที่เมืองตราด เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ . ศ . ๒๔๕๐ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการกลับคืนสู่อำนาจการปกครองของประเทศสยามเหนือดินแดนเมืองตราด และ จันทบุรี ซึ่งถูกฝรั่งเศษยึดครองถึง ๑๒ ปี อันสำเร็จได้ด้วยความพยายามในการเจรจาต่อรอง โดยรัฐบาลสยามยินยอมยกเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศส ฝ่ายฝรั่งเศสยอมให้คนในบังคับของตนขึ้มมาศาลไทยและยอมคืนเมืองตราดและจันทบุรี ให้แก่ประเทศสยามทั้งนี้หนังสือสัญญาฉบับนี้ได้รับการอนุมัติในรัฐสภาของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ . ศ . ๒๔๕๐

จำนวนเหรียญที่สั่งจริงนั้นได้ข้อมูลค่อนข้างชัดเจนว่ามีจำนวนการผลิต ดังนี้
– เหรียญทองคำ จำนวน ๓๐ เหรียญ
– เหรียญเงินจำนวน ๕๐๐ เหรียญ
– เหรียญทองขาว หรือ อัลปาก้า จำนวน ๑๐๐ , ๐๐๐ เหรียญ

เนื้ออัลปาก้า บล็อคเขยื้อน

เนื้ออัลปาก้า กะไหล่ทอง
ภาพเรือพระที่นั่งจักรี แล่นมาถึงท่าราชวรดิษฐ์ กรุงเทพฯ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พศ ๒๔๕๐
ภาพขณะเสด็จเข้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เที่ยงเศษ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พศ ๒๔๕๐

อนึ่ง เหรียญที่นำมาลงให้ดูนี้เป็นเนื้ออัลปาก้า (Alpacca) ซึ่งเป็นชื่อทางการค้า (Trade Name) ของโลหะผสมระหว่าง นิกเกิ้ล ทองแดง และสังกะสี ซึ่งคิดค้นโดยบริษัท Berndorf แห่งประเทศออสเตรีย ในช่วงทศวรรษ 1850′ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ทดแทนโลหะเงินซึ่งมีมูลค่าสูง และขาดแคลนในช่วงเวลานั้น

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ เป็นรูปใบเสมา ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ ผินพระ พักตร์ทางขวาของเหรียญทรงเครื่องเต็มยศทหารมหาดเล็กและมีพระ ปรมาภิไธยอยู่เบื้องบน “ จุฬาลงกรณ์ ” เบื้องล่าง “ บรมราชาธิราช ”
ด้านหลัง มีข้อความว่า “ เสด็จกลับจากยุโรปร.ศ. ๔๐๑๒๖ ”
ชนิด ทองคำ ทองขาว
ขนาด กว้าง 26 มิลลิเมตรยาว 34 มิลลิเมตร

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด