Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๖ (ร.ศ.๑๒๒) เหรียญที่ระลึกในการเฉลิมพระชนพรรษารัชกาลที่ ๕ ครบ ๕๐ พรรษา

พ.ศ.๒๔๔๖ (ร.ศ.๑๒๒) เหรียญที่ระลึกในการเฉลิมพระชนพรรษารัชกาลที่ ๕ ครบ ๕๐ พรรษา

พ.ศ.๒๔๔๖ เหรียญที่ระลึกในการเฉลิมพระชนพรรษารัชกาลที่ ๕ ครบ ๕๐ พรรษา

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
เหรีญด้านหน้าเนื้อเงินกะไหล่ทอง
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
เหรีญด้านหน้าเนื้อเงิน

ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า เป็นรูปพระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) เปล่งรัศมีเหนือลายกระหนก

ด้านหลัง มีข้อความว่า


“ที่รฤกในการ
เฉลิมพระชนมพรรษา
พระชนมายุครบ ๕๐
รัตนโกสินทรศก๓๖
๑๒๒”

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
เหรีญด้านหลังเนื้อเงินกะไหล่ทอง
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
เหรีญด้านหลังเนื้อเงิน

สร้างเป็นที่ระลึกในการเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๕๐ พรรษา

ชนิด เงินกาไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๖ มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. ๒๔๔๖

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๖ (ร.ศ.๑๒๒) เหรียญที่ระลึกกระทรวงการวัง

พ.ศ.๒๔๔๖ (ร.ศ.๑๒๒) เหรียญที่ระลึกกระทรวงการวัง

พ.ศ.๒๔๔๖ เหรียญที่ระลึกกระทรวงการวัง

ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า กลางเหรียญเป็นรูปพระนทิการ ยืนแท่นภายในวงกลม นอกวงกรอบด้านบนมีข้อความว่า “ที่รฤก ด้านกระทรวงวัง” ด้านล่างมีข้อความว่า “ร.ศ. ๑๒๒”

ด้านหลัง ไม่มีรูป หรือข้อความ

เหรียญนี้กระทรวงวังสร้างเป็นที่ระลึกเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาครบ ๕๐ พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖

ชนิด เงิน ทองแดง
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๗ มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. ๒๔๔๖

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๗ (รศ.๑๒๓) เหรียญปฏิทิน จปร (Calendar 1904-1925)

พ.ศ.๒๔๔๗ (รศ.๑๒๓) เหรียญปฏิทิน จปร (Calendar 1904-1925)

พ.ศ. ๒๔๔๗ (รศ ๑๒๓) เหรียญปฎิทิน จปร (Calendar 1904-1925)

หนึ่งในบรรดาเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ ๕ ที่หาดูยากที่สุด และมีนวัตกรรมด้านปฏิทิน ที่น่าทึ่งที่สุด ได้แก่ “เหรียญปฏิทิน” ที่สามารถใช้ดู วัน เดือน ปี ได้ถึง ๒๑ ปี คือระหว่างปีพศ ๒๔๔๗ ถึง พศ๒๔๖๘ (คศ 1904 – 1925)

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เหรียญปฏิทินนี้ ด้านหน้าจะมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร ซึ่งบ่งบอกได้ชัดเจนว่าเป็นเหรียญพระราชทานจากรัชกาลที่๕ ตรงขอบด้านบนซ้ายมือมีคำจารึกว่า “เบนซอน” ส่วนขอบด้านบนขวามือจารึกว่า “ลอนดอน” จึงชัดเจนว่าผลิตโดย J.W Benson of London ซึ่งเป็นห้างทองประจำราชสำนักชั้นนำในยุคนั้นหลายแห่ง อาทิเช่น Queen Victoria, the Prince of Wales, the King of Siam (รัชกาลที่๕) และ the King of Denmark ตัวเหรียญทำจากอลูมิเนียม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๘ มม สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นของพระราชทานในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พศ๒๔๔๗ ซึ่งในยุคนั้น วันขึ้นปีใหม่ยังเป็นเดือนเมษายน

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ด้านหลังเป็นปฎิทินแบบ Gregorian Calendar ซึ่งก็คือปฎิทินสากลทางสุริยคตินั่นเอง ตัวเหรียญด้านหลังนี้จะมีจานหมุนแผ่นบาง ยึดติดอยู่กับตัวเหรียญ เวลาจะใช้ปฎิทินก็เพียงหมุนชื่อเดือน ซึ่งอยู่ด้านบนของจานหมุนดังกล่าว ให้ตรงกับปี คศ ที่ต้องการจะดู โดยปีคศนี้ (1904-1925 หรือ พศ ๒๔๒๗ ถึง พศ ๒๔๖๘) จะปรากฎอยู่บนตัวเหรียญด้านหลัง ครั้นเมื่อหมุนให้เดือนตรงกับปีคศ ที่ต้องการจะดูแล้ว ด้านล่างของจานหมุนจะมีช่องเจาะไว้ แสดงวันจันทร์ถึงอาทิตย์ (ซึ่งวันในรอบสัปดาห์นี้จะปรากฎอยู่บนตัวเหรียญ) ซึ่งจะตรงกับวันที่ ในรอบเดือน ปีนั้นๆ ได้อย่างแม่นยำ และสามารถดูปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี ๒๙ วัน (leap year)ได้อย่างถูกต้องด้วย

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ประดิษฐ์กรรม เหรียญปฎิทินแบบหมุน ๒๑ ปีนี้ นับเป็นผลงานอัจฉริยะที่น่ายกย่อง อย่างไรก็ดี ยังไม่ชัดเจนว่า J.W. Benson เป็นผู้ประดิษฐ์และเป็นเจ้าของสิทธิบัตรอันน่าทึ่งนี้ หรือได้ซื้อลิขสิทธ์จากผู้อื่นมาทำการผลิตเพื่อการค้า จากการค้นคว้าพบว่ามีเหรียญปฏิทินปีคศ1904-1925 แบบเดียวกันนี้ จัดทำด้านหน้าเป็นตราสัญลักษณ์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗ และยังปรากฎตราสัญลักษณ์บริษัทชั้นนำในยุคนั้นด้วยเช่นกัน

จัดได้ว่าเหรียญปฏิทิน จปร นี้ เป็นหนึ่งในเหรียญรัชกาลที่๕ ที่ทรงคุณค่า ทั้งในแง่การเป็นเหรียญพระราชทานโดยตรงจากรัชกาลที่๕ และในด้านนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ทั้งยังเป็นเหรียญที่หาดูได้ยากมากอีกด้วย!

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๗ (รศ.๑๒๓) เหรียญกฐินวัดบวร

พ.ศ.๒๔๔๗ (รศ.๑๒๓) เหรียญกฐินวัดบวร

พศ ๒๔๔๗ (รศ ๑๒๓) เหรียญกฐินวัดบวร

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ ระลึกพระพุทธบาท สัจพันธ์บรรพต

พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ ระลึกพระพุทธบาท สัจพันธ์บรรพต

พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ระลึกพระพุทธบาท สัจพันธ์บรรพต

คำบรรยายภาพ: เหรียญที่ระลึกพระพุทธบาทฯ ชนิดเนื้อทองแดง และเนื้ออลูมิเนียม ด้านหน้าและด้านหลัง

เหรียญที่ระลึกพระพุทธบาท สัจพันธ์บรรพต (วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร เขาสุวรรณบรรพต จังหวัดสระบุรี) มีบันทึกเป็นหลักฐานในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นครั้งที่๒
ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๕ ในวันที่ ๒ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๔๙) ความว่า

” …วันที่ ๒ สามโมงเช้าขึ้นรถไฟกรมนราไปพระบาท ทางเรียบร้อยดีกว่าแต่ก่อน ถมบาลัศเต็มไป จวนถึงฝนตกเรื่อยไปจนกระทั่งเดินขึ้นพระบาททั้งฝน มีเหตุสำหรับเป็นสวัสดิมงคล(๓) ((๓)ตั้งแต่เสด็จโดยรถรางพระพุทธบาท

เผอิญมีเหตุขัดข้องมาทุกคราว จึงดำรัสว่าเป็นสวัสดิมงคล) ในการต้องขลึก(๔) ((๔)ขลึก – ขัดข้อง) ๒ อย่างคือม่านที่กั้นกลางรถราวหลุดประการหนึ่งอีกสักเส้นหนึ่งจะถึงรถหลังตกรางเลยต้องลงไม่ถึงสเตชั่นมณฑปพระบาทรื้อเครื่องบนลงหมดมุงสังกะสีไว้ เหมือนสวมหมวกแฮลเม็ดน่าเกลียด ข้อที่แปลกนั้น

คือเห็นต้นไม้ที่พระบาทใบเขียวแลต้นเล็กน้อยขึ้นรกผิดกับเทศกาลที่เคยโกร๋นเกร๋น มีศาลาเมรุหลวงธุรการ(๑)
ปลูกอยู่ต้นทางเข้าไปหน้าหมู่กุฏิ ซึ่งเขาจัดเป็นที่พักกินข้าวแปลกขึ้นใหม่หลังเดียว นอกนั้นคงเดิม ถ่ายรูปออกจะทั้งฝนเกือบทั้งนั้น แล้วกลับมากินข้าวที่ศาลาที่ว่าแล้ว
กรมนราแจกแพรแถบพม่ากับตีน(๒) ((๒) บริษัทรถรางพระพุทธบาท ทำเป็นรูปพระพุทธบาทด้วยอลูมิเนียม สำหรับขายคนขึ้นพระบาทซื้อไปแขวนนาฬิกาเป็นที่ระลึก มักเรียกกันแต่ว่า “ตีน”) ชายมีมีดเงี้ยว ผู้หญิงมีอับเงี้ยว…”

บันทึกข้างต้น พร้อมคำอธิบายหมายเลข มีปรากฎอยู่ในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นครั้งที่๒ ที่จัดพิมพ์ขึ้นตามพระปรารภของพระอรรคชายาเธอฯ กรมขุนสุทธาสินีนาฎ เพื่อประทานตอบแทนผู้ถวายรดน้ำสงกรานต์ พ.ศ. ๒๔๖๗ โดยมีรับสั่งว่า

หนังสือเรื่องนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ถึง ๑๗ ปีแล้ว ผู้ซึ่งยังไม่ทราบเรื่องเสด็จครั้งนั้นมีมากด้วยกัน
ถ้าแห่งใดควรจะทำคำอธิบายหมายเลขให้เข้าใจความยิ่งขึ้นได้ ก็ให้ทำคำอธิบายหมายเลขด้วย อนึ่ง พระราชนิพนธ์จดหมายเหตุนี้ พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์

โดยดำรัสให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้านิภานภดลทรงเขียนไว้ ในเวลาสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นตำแหน่งราชเลขาธิการฝ่ายใน อยู่ในเวลาเมื่อเสด็จประพาสคราวนั้น

คำบรรยายภาพ: รูปถ่ายฝีพระหัตถ์ และลายพระหัตถ์ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๕

ในส่วนของบริษัทรถรางพระพุทธบาท ท.จ.ก. (ทุนจำกัด) นี้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างทางรถไฟเล็กเดินระหว่างท่าเรือกับพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี
(ตามหลักฐานปรากฎในราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๘ หน้า ๔๑๐) เรื่องประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษแก่บริษัทรถรางพระพุทธบาท ทุนจำกัด ณ วันที่ ๒๕ กันยายน ร.ศ.๑๒๐

และเริ่มเปิดให้บริการในปีถัดมา คือปีร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) และรัชกาลที่๕ ทรงเสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธบาท แลพระราชทานพระกะฐิน โดยประทับรถรางพระพุทธบาท
ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๑ (ตามหลักฐานปรากฎในราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๙ หน้า ๖๗๒) จากช่วงเวลาดังกล่าว จึงสามารถคะเนได้ว่าเหรียญที่ระลึกพระพุทธบาทนี้

น่าจะมีการจัดสร้างครั้งแรกอยู่ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๕ ที่เริ่มให้บริการรถรางพระพุทธบาท ถึงราวปีพ.ศ.๒๔๔๙ ที่ทรงบันทึกถึงเหรียญพระพุทธบาทนี้ไว้ อนึ่ง บริษัทรถรางพระพุทธบาท
ในการต่อมาได้หยุดดำเนินกิจการและถูกถอนพระบรมราชานุญาตพิเศษ ในปีพ.ศ.๒๔๗๒ (รัชสมัย รัชกาลที่๗)
ลักษณะจำเพาะ

ด้านหน้า: เป็นรูปพระพุทธบาทจำลอง ตามลักษณะมงคล ๑๐๘ ประการ มีหูคล้องในตัวทางด้านปลายพระบาท
ด้านหลัง: มีคำจารึกเป็นอักษรมงคล ๖แถวว่าที่รลึก
กุศลศุภคุณ
ที่ได้ไปนมัสการ
พระพุทธบาท
วลัญชนเจดีย์ ถึง
สัจพันธ์บรรพต

อนึ่ง คำจารึกนี้ เป็นการสะท้อนถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทตามแบบชาวลังกาทวีป

ชนิด: อลูมิเนียม และทองแดง
ขนาด: สูง ๔.๘ ซม. รวมหูคล้อง กว้าง ๑.๘ ซม.

ข้อมูลอ้างอิง:
๑) พระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้น ร.ศ.๑๒๕, ฉบับโปรดเกล้าให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ นายภาวาส บุนนาค วันเสาร์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗
๒) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๘ หน้า ๔๑๐ และ เล่ม๑๙ หน้า ๖๗๒ (รัชกาลที่๕), เล่ม ๔๖ หน้า ๓๖๗ (รัชกาลที่๗)

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ระลึกงานพระศพพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา

พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ระลึกงานพระศพพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา

พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ระลึกงานพระศพพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา (18 กันยายน พ.ศ. 2402 – 4 เมษายน พ.ศ. 2449) พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 3 ในจำนวนพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดาอีก 4 พระองค์ ได้แก่

  1. พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณเลิศ (ประสูติ พ.ศ. 2398 พระชันษา 2 ปี) – พระเชษฐา
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ (พ.ศ. 2400-2453) – พระเชษฐา
  3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ (พ.ศ. 2406-2466) – พระอนุชา
  4. พระองค์เจ้าชายดำรงฤทธิ์ (ประสูติ พ.ศ. 2407 พระชันษา 3 ปี) – พระอนุชา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา
Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ระลึกฉลองพระสุพรรณบัฐกรมหลวงวชิรญาณวโรรส

พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ระลึกฉลองพระสุพรรณบัฐกรมหลวงวชิรญาณวโรรส

พ.ศ.๒๔๔๙ เหรียญที่ระลึกฉลองพระสุพรรณบัฐกรมหลวงวชิรญาณวโรรส

ภาพจากหนังสือ “ พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีไป มากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ” ฉบับ พศ ๒๔๗๒ มีคำบรรยายเก่าว่า “ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนทนากับ สมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส คราวเสด็จประพาสวัดบวรนิเวศ เมื่อปีมะเส็ง พศ ๒๔๔๘ ”

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ บางเหรียญมีห่วง
ด้านหน้า เป็นยันต์พระจตุราริยสัตย์ อยู่ในวงกรอบ นอกวงกรอบเป็นกลีบบัวซ้อน 3 ชั้น
ด้านหลัง มีข้อความว่า “ ที่รฦกในการเลื่อนกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสเป็นกรมหลวงณ วัดบวรนิเวศวิหารร.ศ.๑๒๕ ”
ชนิด ทองแดงรมดำ
ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญประซันอาวุธ รศ๑๒๕

พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญประซันอาวุธ รศ๑๒๕

พ.ศ.๒๔๔๙ เหรียญประชันอาวุธ รศ๑๒๕

เหรียญประชันอาวุธ รศ๑๒๕ (พศ 2449) สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นรางวัลในการประกวดอาวุธ เช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน ปืน ในงานฉลองวัดเบญจมบพิตร ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน จนถึง ๒ ธันวาคม รศ ๑๒๕

เนื่องจากผมได้เหรียญชนิดนี้มาพร้อมกันคู่หนึ่ง เหรียญแรกมีคำจารึกว่า “ ประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร รศ๑๒๕ ” กับอีกเหรียญหนึ่งด้านหลังเรียบไม่มีคำจารึก จึงได้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหรียญประชันอาวุธ และเหรียญรางวัลการประชันอื่นๆ ในงานวัดเบญจมบพิตร ซึ่งได้อ้างอิงจากหนังสือ “ เมื่อสมัย ร ๕ ” ของอาจารย์เอนก นาวิกมูล ที่น่าสนใจดังนี้  

คือ ร.๕ ทรงเริ่มสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อพศ๒๔๔๒ ครั้นเมื่อถึงเดือนธันวาคมปีรุ่งขึ้น คือ พศ.๒๔๔๓ จึงมีการฉลองเสนาสนะ หรือที่อยู่ของพระอันเพิ่งสร้างแล้วเสร็จ มีการจัดงานออกร้าน ถือเป็นการเริ่มต้นของงานวัดเบญจมบพิตร ซึ่งถือเป็นงานวัดของเจ้านาย งานฉลองนี้เริ่มมีตั้งแต่ปีพศ๒๔๔๓ เรื่อยมาประจำทุกปี จนจืดจางหายไปในราวสมัย ร.๗ แต่ประเด็นสำคัญ ซึ่งท่านอาจารย์ผู้เขียนได้ค้นคว้าจาก หนังสือรายงานการจัดของแต่ละปี ภาคต่างๆซึ่งใช้ชื่อนำว่า “ รายการพระราชกุศลในการสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ” ตามด้วยภาคเท่านั้นเท่านี้ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเหรียญประชันฯ ซึ่งผมขอคัดย่อมาเฉพาะที่เกี่ยวข้องดังนี้

๑. งาน พศ.๒๔๔๘ จัดระหว่างวันที่ ๙ ถึง ๑๓ ธันวาคม รศ.๑๒๔ เป็นปีที่มีการจัดประชันรูปถ่าย ซึ่งหนังสือกล่าวว่า “ เป็นครั้งแรกที่เคยมีการประชันรูป ” มีการให้รางวัลเป็นเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง รวมถึงมีการพิมพ์ชื่อรูป และผู้ถ่ายไว้

๒. งานประชันอาวุธ รศ.๑๒๕ ตามที่ได้แจงไว้ในต้นกระทู้แล้ว

๓. งาน พศ.๒๔๕๐ จัดระหว่างวันที่ ๑๗ ถึง ๒๑ ธันวาคม รศ.๑๒๖ ซึ่งมีการประกวดบอน ซึ่งริเริ่มโดยพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์ และมีการกำหนดรางวัลชั้นที่๑ เหรียญทอง สามเหรียญ ชั้นที่๒ เหรียญนาก หกเหรียญ และชั้นที่๓ เหรียญเงิน ๑๒ เหรียญ

ประกอบกับ เมื่อตอนที่ได้เหรียญคู่นี้มา ได้นำไปตรวจสอบกับพ่อค้า และนักสะสมที่มีความชำนาญ ( พูดง่ายๆคือเอาไปแห่น่ะครับ ) ได้รับข้อมูลจากเซียนดังท่าพระจันทร์ตั้งแต่ตอนนั้นแล้วว่าเหรียญนี้น่าจะมีการพระราชทานอยู่หลายปี มิใช่เฉพาะรศ๑๒๕ ผมเลยได้ข้อสันนิษฐานว่า เหรียญอันที่ไม่มีคำจารึกนี้ อาจจะเป็นเหรียญในการประชันอื่น ในปีรศ อื่นก็เป็นได้

อนึ่ง เหรียญแบบมีคำจารึก ขอให้ดูตัวอย่างรูปเปรียบเทียบได้ในหนังสือ ” เหรียญบนแผ่นดิน ร๕ ” หน้า ๒๗๘ ส่วนแบบไม่มีคำจารึก ขอให้ดูจากหนังสือ “ ทรัพย์แผ่นดินสยาม ” หน้า ๒๑๖ ถึง ๒๒๑ อันที่จริง ในหนังสือ “ ทรัพย์แผ่นดินสยาม ” ระบุถึงเหรียญที่ไม่มีคำจารึกว่าออกในปีรศ.๑๒๔ ด้วยซ้ำไป

พระรูปบนหน้าเหรียญ ถอดแบบมาจากเหรียญประพาสยุโรป

*อนึ่ง จากการค้นคว้าเพิ่มเติมในรายการพระราชกุศล ในการสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ภาคที่ ๑๕ รศ.๑๒๖ มีการรายงานจำแนกประเภทอาวุธที่เข้าร่วมประชันในงานปีรศ ๑๒๕ เป็น ๕ ประเภท คือ สาตราวุธยาว ( นับจำนวนอาวุธที่เข้าประกวดได้ ๑๔๒ ชิ้น ), สาตราวุธสั้น นับได้ ๑๙๐ ชิ้น ปืนสั้นแลยาว นับได้ ๖๐ ชิ้น มีดต่างๆ นับได้ ๔๕ ชิ้น และสาตราวุธเบ็ดเตล็ด นับได้ ๓๕ ชิ้น รวมทั้งสิ้น ๔๗๒ ชิ้น

ในตอนท้ายของบันทึก มีแสดงรายชื่อผู้ได้รับเหรียญรางวัลจากการประชันอาวุธ เป็นเหรียญทอง ๓ รางวัล เหรียญเงิน ๒๔ รางวัล และที่เหลือทั้งหมดได้เหรียญทองแดง จึง เท่ากับมีเหรียญทองแดงที่พระราชทานทั้งหมด ๔๔๕ เหรียญ

และในหนังสือรายการพระราชกุศล ในการสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ภาคที่ ๑๓ รศ.๑๒๔ มีบาญชีรูปถ่ายที่เข้าประชันในปีรศ ๑๒๔ ได้รับรางวัลเหรียญทอง ๕ เหรียญ รางวัลเหรียญเงิน ๓๐ เหรียญ และเหรียญทองแดงอีกจำนวนหนึ่ง ( ไม่ได้ระบุไว้ )

ตัวอย่างเหรียญประชันอาวุธอีก ๑ เหรียญ

ตัวอย่างเหรียญประชันอาวุธ เนื้อ ทองแดง

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ กลม แบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ทางขวาของเหรียญริมขอบมีพระปรมาภิไธย “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ”
ด้านหลัง รอบวงเหรียญมีลายกนก กลางเหรียญมีพื้นที่ว่างสำหรับจารึกตัวอักษร
ชนิด ทองคำ เงิน และ ทองแดง
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๗ มิลลิเมตร

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖) เหรียญการศพเจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)

พ.ศ.๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖) เหรียญการศพเจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)

พ.ศ.๒๔๕๐ ( รศ. ๑๒๖ ) เหรียญการศพเจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)

เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์๓ (เทศ) เป็นบุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) เช่นเดียวกับพระยาภาณุวงศ์ฯ แต่ต่างมารดากัน มารดาของท่านคือหม่อมหรุ่น เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ (เทศ) เกิดปีฉลู เมื่อพ.ศ. ๒๓๘๔ และได้รับคัดเลือกให้เป็นนักเรียนไปกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ กับคณะราชทูต ซึ่งพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม) พี่ชายของท่านเป็นหัวหน้าคณะ ในขณะที่ท่านมีอายุได้ ๑๗ ปี แต่เกิดขัดข้องบางประการต้องเดินทางกลับ ท่านเริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยตำแหน่งแรกคือ นายรองไชยขรรค์ และไต่เต้าขึ้นมาเป็น นายศัลย์วิไชยหุ้มแพรมหาดเล็ก และพระเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ซึ่งได้กินตำแหน่งปลัดเมืองเพชรบุรีเช่นเดียวกับเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ (ท้วม) ผู้พี่ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ท่านได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาสุรินทรฤๅไชย มีฐานะเป็นเจ้าเมืองเพชรบุรี (พ.ศ. ๒๔๑๑) ในวันที่ ๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๑ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราจุลจอมเกล้าฯ ให้แก่ท่าน ต่อมาเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้จัดตั้งการปกครองแบบใหม่เป็นมณฑลเทศาภิบาล ในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ท่านได้เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี๔ มีหน้าที่ดูแลหัวเมืองใหญ่ ๖ เมืองด้วยกัน ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ปราณบุรี สมุทรสงคราม ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี โดยศูนย์กลางการปกครองจะอยู่ที่จังหวัดราชบุรี ในสมัยที่ท่านเป็นเทศานั้น งานโกนจุกลูกสาว ๒ คน ของท่านคือ เจ้าจอมเอิบและเจ้าจอมอาบ มีการฉลองด้วยปี่พาทย์ถึง ๓ วงด้วยกันในฐานะที่เป็นงานของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ และในงานนี้เองที่นายศร ศิลปบรรเลง ซึ่งต่อมาคือหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้มีโอกาสมาเล่นระนาดประชันจนฝีมือขึ้นชื่อลือเลื่อง เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ ถือคติในการทำงานว่า “ให้มีความสุจริต ทั้งกาย วาจา ใจ จึงจะงามเจริญดี”
หลังจากที่เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ ได้รับตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรีท่านได้เข้ามากรุงเทพฯ เพื่อร่วมประชุมข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจัดขึ้นที่ศาลาลูกขุนบ้าง และที่กระทรวงการคลังมหาสมบัติบ้าง โดยในการประชุมแต่ละครั้งจะมีรายงานการประชุมอย่างระเอียด ระบุแม้กระทั่งเวลาผู้ที่เข้าร่วมการประชุมแต่ละคนมาถึง นอกเหนือไปจากเนื้อหาขอการประชุม

อีก ๓ ปีต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ท่านก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ เมื่ออายุได้ ๕๖ ปี บุตรชายของท่านเกิดกับท่านผู้หญิงอู่ ได้รับราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองเพชรบุรีถึง ๓ คน ได้แก่

  1. พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค)
  2. พระยาสุรินทรฤๅไชย (เทียม บุนนาค)
  3. พระสัจจาภิรมย์ (แถบ บุนนาค)

แต่ที่สำคัญที่สุด ธิดาท่านถึง ๕ คน ได้เข้ารับราชการฝ่ายใน ได้เป็นพระสนมเอกในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ได้แก่ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอื้อน หรือที่รู้จักกันดีในนามเจ้าจอมก๊กออนั่นเอง ธิดาอีก ๓ คน ของท่านที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ก็ได้เป็นคุณหญิง นอกจากนั้นธิดาของท่านอีก ๒ คน ซึ่งเกิดกับหม่อมพวงและหม่อมทรัพย์คือ เจ้าจอมแก้วและเจ้าจอมแส ก็ได้รับราชการฝ่ายในในตำแหน่งพระสนมในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเช่นกัน เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ มีบุตรธิดารวม ๖๒ คนด้วยกัน
อนุสรณ์ของตระกูลบุนนาคที่ปกครองเมืองเพชรก็คือ ถนนสายหลักๆ ในเมืองเพชรซึ่งตัดขึ้นในสมัยที่ตระกูลบุนนาคตั้งแต่พระยาสุรพันธ์ฯ เข้ามาปกครอง สังเกตได้จากชื่อของถนนจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับตระกูลหรือตำแหน่งของท่านทั้งสิ้น ได้แก่ ถนนสุรพันธ์ (ปัจจุบันซอยที่แยกจากถนนใหญ่สุรพันธ์จะตั้งชื่อว่า ซอยสุรพันธ์ ๑ สุรพันธ์ ๒ ตามชื่อถนนใหญ่) ถนนอมาตยวงศ์ (กร่อนมาเป็นมาตยาวงศ์ในปัจจุบัน) ถนนพงษ์สุริยา สุริยา แปลว่า พระอาทิตย์ ซึ่งเครื่องหมายตราพระอาทิตย์เป็นเครื่องหมายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยา (องค์แรกของตระกูลบุนนาค) ให้สำเร็จราชการตลอดทั่วทั้งพระราชอาณาจักร โดยมีตราสุริยมณฑลเทพบุตรชักรถเป็นเครื่องหมาย
เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ กลับมาใช้ชีวิตในวัยชราที่เพชรบุรี ใน ร.ศ. ๑๒๑ ท่านก็เริ่มป่วย และล้มป่วยหนักใน ร.ศ. ๑๒๕ ทุกครั้งที่ท่านมีอาการป่วย สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีรับสั่งให้หมอหลวงไปรักษา และทรงติดตามอาการป่วยอย่างใกล้ชิด โปรดเกล้าฯให้ทั้งหมอไทยและหมอฝรั่งที่เก่งที่สุดออกไปรักษาท่านที่เพชรบุรี ตามหลักฐานในจดหมายเหตุ รายชื่อหมอที่ทรงรับสั่งให้ไปรักษาเจ้าพระยาสุรพันธ์ ได้แก่ พระสิทธิสาร หลวงประสิทธิ์หัตถา หลวงวรรณกรรม หลวงเทวพรหมา หมอเกอร์ หมอแมกเดนเมียส์ หมอแบรดดอก หมอมักแคนเนอร์ และหมอปัวซ์ นอกจากจะทรงติดตามอาการป่วยของเจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ อย่างใกล้ชิดผ่านทางสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในฐานะเสนาบดีมหาดไทยแล้ว จากจดหมายเหตุจะเห็นได้ว่า มีอยู่หลายครั้งที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชกระแสในเรื่องการตรวจรักษาของหมอด้วย สิ่งสำคัญที่สุดที่แสดงถึงความห่วงใยของพระพุทธเจ้าหลวงที่ทรงมีต่ออาการป่วยของเจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ ก็คือ การที่ทางเจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ จะต้องมีจดหมายกราบบังคมทูลรายงานอาการป่วยอย่างละเอียดโดยตลอด ดังจะเห็นจากโทรเลขและจดหมายรายงานการป่วยจากเพชรบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทรงเล็งเห็นว่าอาการของท่านเจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ หนักมากแล้ว ก็ทรงมีพระราชปรารภให้ลูกหลานของท่านที่อยู่กรุงเทพฯ ได้ออกไปเพชรบุรีเพื่อเยี่ยมไข้ครั้งสุดท้าย๘ เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ ถึงแก่อสัญกรรมที่บ้านของท่านจวนกลาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ อายุ ได้ ๖๖ ปี งานพระราชทานเพลิงศพของท่านมีขึ้นที่วัดเทพศิรินทราวาส และแจกหนังสือนันโทปนันทสูตรคำหลวง เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมพระราชวังบวรในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเป็นผู้นิ

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖) เหรียญที่ ระลึกงานพระศพกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย

พ.ศ.๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖) เหรียญที่ ระลึกงานพระศพกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย

พ.ศ.๒๔๕๐ ( รศ. ๑๒๖ ) เหรียญที่ระลึกงานพระศพกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระนามเดิม พระองค์เจ้าไชยันตมงคล พระราชโอรสพระองค์ที่ ๗๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาห่วง ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จ.ศ. ๑๒๒๗ (๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๘)
พระองค์เจ้าไชยันตมงคล ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตำแหน่งนายพันเอก ราชองครักษ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงก่อตั้งธนาคารแห่งแรกที่ดำเนินการโดยคนไทย ใช้ชื่อว่า บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้จดทะเบียนตั้งเป็นธนาคารได้ถูกต้องตามกฎหมาย ใช้ชื่อว่า บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด (Siam Commercial Bank Co.) ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล ทรงได้รับการยกย่องเป็น พระบิดาแห่งวงการธนาคารไทยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะแมนพศก จ.ศ. ๑๒๖๙ (๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๐) พระชันษา ๔๔ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ไชยันต

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย